โรงพยาบาลห้วยคต

ข้อมูลทั่วไป

โรงพยาบาลห้วยคต เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง/ ระดับทุตติยภูมิขนาด 2.1

ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง

มีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ให้บริการครอบฟัน รากฟันเทียม ทำฟันปลอม

มีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว และ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (อนุมัติบัตร สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน) ด้านการตรวจให้บริการตรวจรักษาทั่วไป

 

มีเครือข่าย อสม.

เครือข่ายดูแลผู้พิการ

เครือข่ายผู้ติดเชื้อ

เครือข่ายควบคุมโรคเข้มแข็ง (SRRT)

เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ

 

สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพที่สำคัญ

- อาคารสถานที่ที่สำคัญ:  ประกอบด้วยอาคารหลักจำนวน 3  อาคาร

1. อาคารผู้ป่วยนอก 2 ชั้น  จำนวน 1 อาคาร  ประกอบด้วยชั้นล่าง มีหน่วยงานดังนี้  ห้องบัตร งานผู้ป่วยนอก ห้องตรวจโรค 3 ห้อง งานเทคนิคการแพทย์ ห้องยา ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ห้องคลอด ประกอบด้วยห้องรอคลอด 2 เตียง ห้องหลังคลอด 2 เตียง เตียงคลอด 2 เตียง ห้องอัลตร้าซาวนด์ ห้องคลินิกนมแม่ ห้องผ่าตัด 1 เตียง ห้องเอ็กซเรย์  งานอนามัยแม่และเด็ก  อาคาร2 ขั้นบน มีหน่วยงานดังนี้ งานบริหารทั่วไป ห้องผู้อำนวยการ งานศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องประชุมเล็ก

2. อาคารผู้ป่วยใน (อาคาร 10 เตียง เดิม) จำนวน  1 อาคาร  ปัจจุบันมีหน่วยงานดังนี้  งานบริการทันตกรรม,งานกายภาพ, งานแพทย์แผนไทย , งานเวชปฏิบัติครอบครัว

3. อาคารผู้ป่วยใน (30 เตียง) จำนวน 1  อาคาร  ประกอบด้วยผู้ป่วยในสามัญหญิง 14 เตียง ผู้ป่วยในสามัญชาย 14  เตียง, เตียงพิเศษ 7 เตียง   ห้องแยกโรค 1 ห้อง

4. อาคารสนับสนุนด้านล่าง ประกอบด้วย งานจ่ายกลาง ซักฟอก งานโภชนาการ ห้องประชุมใหญ่

5. อาคารส่งเสริมสุขภาพ (อาคารแผนไทย)  จำนวน 1 อาคาร  ก่อสร้างเสร็จในปี 2559 และได้ดำเนินการเปิดบริการในเดือน สิงหาคม 2559

 - ระบบน้ำ

 ตั้งแต่เริ่มเปิดโรงพยาบาลในปี พ.ศ.2535 ไม่มีระบบน้ำประปา ต้องใช้รถน้ำขนน้ำมาใส่ในถังพักภายในโรงพยาบาล จนในปี พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน  ใช้ระบบน้ำประปาของหมู่บ้าน ซึ่งพบปัญหาในช่วงหน้าแล้ง ประสบกับปัญหาน้ำประปาไม่ไหล และไหลน้อยจึงทำให้ไม่เพียงพอในการใช้ภายในโรงพยาบาลในบางปีต้องขอสนับสนุนรถขนน้ำจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยทหารพัฒนาการเคลื่อนที่ ในพื้นที่ช่วยสนับสนุนน้ำ เพื่อให้เพียงพอใช้สำหรับบริการผู้รับบริการในพื้นที่  ข้อมูลการใช้น้ำในโรงพยาบาล 2 ปีย้อนหลังพบอัตราการใช้น้ำ เฉลี่ย 479 หน่วย/เดือน (ใช้รวมบ้านพักเจ้าหน้าที่ด้วย)

- ระบบไฟฟ้า

          ใช้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ช้อมูลการใช้ไฟฟ้า 2 ปีย้อนหลังพบว่ามีอัตราการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 26,354 หน่วย/เดือน (ใช้รวมบ้านพักเจ้าหน้าที่ด้วย)   ระบบหม้อแปลงไฟฟ้าตั้งแต่ก่อตั้งโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มายังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของหม้อแปลง  โรงพยาบาลห้วยคตมีแผนในการของบลงทุนปี 2560 ในการขอเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากเดิมหม้อแปลงขนาด 150 kva เป็นขนาด 300 kva และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 150klw เป็นขนาด 300 klw เนื่องจากพบว่ากำลังไฟในการใช้งานไม่เพียงพอ

- เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สำคัญ:

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในการให้บริการทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3ประเภท

1. เครื่องมือช่วยชีวิต จำนวน 9  รายการมี 36  เครื่อง เช่น Defibrillator Ambu bag Laryngo เป็นต้น

2. เครื่องมือให้การดูแลรักษาและวินิจฉัย จำนวน 10. รายการ มี  21 เครื่อง เช่น EKG เครื่องวัดความดันโลหิต  เครื่อง Ultrasound,Infusion pump , NST,  x-ray เป็นต้น

3. เครื่องมือสนันสนุนการให้การรักษา/บริการ จำนวน  6  รายการมี 57เครื่อง เช่น ตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์  เครื่องนึ่ง Autoclave เครื่องซักผ้าเครื่องอบผ้า เป็นต้น

กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง:   โรงพยาบาลยึดกฏระเบียบข้อบังคับต่างๆ ตามระเบียบของกพ.และมีนโยบายต่างๆที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับนโยบายสาธารณะ เช่น กำหนดเป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ นโยบายโรงพยาบาล  ส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น

ลักษณะสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และประชากร

ภูมิประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่เขา  การเดินทางและการคมนาคมมีรถโดยสารประจำทางเข้าตัวเมืองจังหวัดอุทัยธานีวันละ 1 เที่ยว การเดินทางของประชาชนในพื้นที่จึงใช้รถมอเตอร์ไซด์ และรถอิแต๊ก อิแต๊น ไม่มีธนาคาร, ไม่มีที่ทำทำการไปรษณีย์ของอำเภอ  เป็นไปรษณีย์สาขา ของตำบลเขาบางแกรก อ.หนองฉาง  อาชีพส่วนใหญ่ อาชีพ เกษตรกรรม ปลูกอ้อยปลูกมันสำปะหลัง  และข้าวโพด  พื้นที่ในอำเภอส่วนใหญ่ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล เนื่องจากมีโรงงานน้ำตาลอยู่ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเป็นพื้นที่จังหวัดติดกัน ซึ่งในช่วงโรงงานเปิดจะอยู่ในช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ของในทุกปี ในการตัดอ้อยส่งโรงงาน ที่อำเภอห้วยคตใช้การเผาก่อนที่จะมีการตัด ประกอบกับเป็นช่วงฤดูหนาว จึงส่งผลให้ผู้รับบริการในพื้นที่ส่วนใหญ่มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ  และพบแรงงานที่อพยพมาจากภาคอีสาน มารับจากตัดอ้อย จึงพบปัญหาแรงงานต่างถิ่น

Visitors: 61,705